วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
         ข่าวสารที่สำคัญ เป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้นภายในองค์กรต่างๆ ตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริการองค์กรนั้นๆ
          สารสนเทศ ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Information หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า สารสนเทศเป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติ
          สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพที่ประมวลจัดหมวดหมู่ เปรียบเทียบ และวิเคราะห์ แล้วสามารถนำมาใช้ได้หรือนำมาประกอบการพิจารณาได้สะดวกกว่าและง่ายกว่า

เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร ?
          เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอที (ไอที)  
          เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อสังคมในปัจจุบัน มีความเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บ การประมวลผลและการแสดงผลสารสนเทศ
         1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
         คอมพิวเตอร์ จัดเป็นเทคโนโลยีหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน เนื่องจากคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติครบถ้วนที้งทางด้านการ บันทึก การจัดเก็บ การประมวล การแสดงผล และการสืบค้นหาข้อมูลสารสนเทศ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็นเทคโนโลยีย่อยได้ 2 ส่วน คือ
          1. เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้นเป็นตังเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเชื่อมโยงจำแนกตามหน้าที่การทำงานออกเป็น 4 ส่วน คือ
          1. หน่วยรับข้อมูล
          2. หน่วยประมวลผลกลาง หรือ ซีพียู
          3. หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit)
          4. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage Unit)

          2. เทคโนโลยีซอฟท์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่ให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ ผู้ใช้ต้องการ
          ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภทคืิอ
          1. ซอฟท์แวร์ระบบ (System Software) หรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่ สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ทำงานตามคำสั่ง
          2. ซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือชุดคำสั่งที่ผู้ใช้สั่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ

          2. เทคโนโลยีการสื่อสารคมนาคม
          หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันทั่วไปเช่น ระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบเครือข่ายเคเบิล และระบบสื่อสารต่างๆ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน

          ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (2520-2524) การมีส่วนร่วมของสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร
- มีการตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาขึ้น
- ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ก็ได้มีความเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามากขึ้น
- ในแผน 9 มีการจัดทำ แผนหลัก เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา
- แผนพัฒนา 9 ข้างต้นทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการศึกษาของประเทศไทยมากขึ้นทำให้การศึกษามีคุณภาพ มีความต่อเนื่อง ส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดชีวิต โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

���l � � � @ p �ระบบ คอมพิวเตอร์ สำหรับการบริหารงานใน สถานศึกษาด้านต่างๆ เช่น ระบบ บริหารห้องสมุดและระบบ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาเป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาพัฒนาบุคคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ

         พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
         ยุคที่ 1 (การประมวลผลข้อมูล) มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวนและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
         ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุมดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆ
         ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพือเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจ ทำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
         ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบัน หรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคม เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบ สารสนเทศและเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศ แก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

         ประโยชน์ของเทคโนโยยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
         1. ให้ความรู้ ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
         2. ใช้ในการวางแผนบริหารงาน
         3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
         4. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
         5. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ
   สรุป
       การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในวงการศึกษา มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์ เทคโนโลยีสารสนเทศประเภทต่างๆ เช่น ดาวเทียม ใยแก้วนำแสง อินเทอรืเน็ต ก่อให้เกิดระบบ คอมพิวเตอร์ สำหรับการบริหารงานใน สถานศึกษาด้านต่างๆ เช่น ระบบ บริหารห้องสมุดและระบบ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษาเป็นเครื่องมือ ในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาพัฒนาบุคคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ 
       

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
          รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
          1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก้บข้อมูล เช่น ดาวเทียมท่ายภาพทางอากาศ กล้องดิจิตอล กล้องถ่ายวิดีทัศน์ เตรื่องเอกซเรย์
          2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล เป็นสื่อบีนทึกข้อมูลต่างๆ เช่น เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก จานแสงหรือจานเลเซอร์ บัตรเอทีเอ็ม
          3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์
          4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์ จอภาพ พลอตเตอร์ ฯลฯ
          5. เทคโนโลยีที่ช่วยในการจัดทำเอกสาร เช่นการถ่ายเอกสาร เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม

          ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

          มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในทางธุรกิจและทางการศึกษา ตัวอย่างเช่น
          - ระบบเอทีเอ็ม
          - การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ต
          - การลงทะเบียนเรียน
          พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
          การแสดงออกทางความคิดและความรู้สึกในการใช้รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท ที่นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจักการ จัดเก็บ สร้างและเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ ภาพ ข้อความ หรือตัวอักษร ตัวเลขและภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

           การใช้อินเทอร์เน็ต
           งานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้อินเตอร์เน็ต เพื่อความบันเทิง เนื่องจากเห็นว่ามีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในขณะที่ การใช้อินเตอร์เน็ตของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่ ใช้เพื่อการเรียนรู้การติดตามข่าวสารของสถานศึกษา

           การสืบค้นขัอมูลสารสนเทศ
           การใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการค้นหา หรือดึงข้อมูลและสารสนเทศละเรื่องที่ผู้ใช้ระบุิ แหล่งรวบรวมสารสนเทศไว้เป็นจำนวนมาก เมื่อประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น
           วัตถุประสงค์ในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ
            1. เพื่อทราบถึงรายละเอียดของข้อมูล
            2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการศึกษาหรือการทำงาน
            3. เพื่อสร้างการเรียนรู้ให้กับตนเองและผู้อื่น
            4. เพื่อการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

เราจะสืบค้นสารสนเทศจากแหล่งใดได้บ้าง
            Search Engine
            Search Engine หมายถึง เครื่องมือหรือเว็บไซต์ ที่อำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล และข่าวสารให้แก่อินเตอร์เน็ต จากแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ต่างๆ ในระบบเครือข่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการ
            ความหมายของเครื่องช่วยค้นหา Search Engines
            คือ เครื่องมือหรือเว็บไซต์ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูล

ประเภทของ อินเด็กเซอร์ (Indexers)

            Search Engines แบบอินเด็กเซอร์จะมีโปรแกรมช่วยจัดการข้อมูลในการค้นหา หรือที่เรียกว่า Robot วิ่งไปมาในอินเตอร์เน็ตโดยอัตโนมัติ เพื่ออ่านข้อมูลจากเว็บเพจ (Web Pages) ต่างๆ ทั่วโลกมาจัดทำเป็นหลักฐานข้อมูลไว้โดยจะใช้ตัวอินเด็กซ์ (Index) ค้นหาจากข้อความในเว็บเพจที่ได้สำรวจมาแล้ว
           ตัวอย่างของเว็บไซต์ที่ให้บริการ ตามแบบอินเด็กเซอร์
- http://www.altavista.com           - http://www.excate.com
- http://www.hothot.com              - http://www.magellan.com
- http://www.webcrawler.com


  ไดเร็กเตอร์ (Directories) 
   Searh Engines แบบไดเร้กทอรี่จะใช้การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ซึ่ง เปรียบเสมือนกับเป็นแค็ตตาล็อกสินค้า เลือกจากข้อมูลใหญ่ไปหาเล็ก จนพบข้อมูลที่ต้องการโดยจะแสดงจาก URL ตัวอย่างเช่น
- http://www.yahoo.com                 - http://www.lycos.com
- http://www.looksmart.com            - http://www.galaxy.com
- http://www.askjeeves.com            - http://www.siamguru.com
  เมตะเสิร์ช (Metasearch) 
  Search Engines แบบเมตะเสิร์ชใช้ได้หลายๆวิธีการมาช่วยในการสืบค้นข้อมูลโดยจะรับคำสั่งค้น หาแล้วส่งไปยังเว็บไซต์ Search Engines หลายแหล่งพร้อมกัน ทำให้เราเข้าถึงเว็บได้อย่างรวดเร็ว เช่น
- http://www.dogpile.com              - http://www.highway61.com
- http://www.profusion.com           - http://www.thaifind.com
- http://www.metacrawler.com
  Yahoo
     เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแบบไดเร็กเทอร์เป็นรายแรกในอินเทอร์ และเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานเป็นรายแรกในอินเทอร์เน็ต เป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานสูงสุดในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือการค้นหาในแบบเมนู และการค้นแบบวิธีระบุทำที่ต้องการค้นหา
     Altavista
     เป็น Search Engines ของบริษัท Digital Equipment Corp หรือ DEC มีฐานข้อมูลขนาดใหญ่มาก มีโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาที่มีความสามารถสูง จุดเด่น มีเว็บเพจอินเด็กซ์ Indexed Web Pages เป็นจำนวนมากกว่า 150 ล้านเว็ยเพจ
     Excite 
     เป็น Search Engines มีจำนวนไซต์ site ในคลังข้อมูลมากที่สุดตัวหนึ่งและสามารถค้นหาข้อมูลหรือความหมายของคำได้ โดยจะทำการค้นจาก World wide web เนื่องจาก Excite มีข้อมูลในคลังจำนวนมาก ทำให้ผลลัพธ์ในการค้นหา มีจำนวนมากตามไปด้วย
     Hotpot 
     เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลที่ได้รับความนิยมอีกเว็บไซต์ มีจุดเด่นตรที่สามารถกำหนดเงื่อนไขที่สูงขึ้นได้
     Go.com
    เป็นเว็บไซต์ที่นำเสนอข่าวทันเหตุการณ์ต่างๆจากแหล่งข่าวต่างๆ เป็นจำนวนมากตลอดจนข่าวในด้านบันเทิง (Entertainment New)
     Lg cos
     ฐานข้อมูลของ Lgcos มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งมีคลังข้อมูลมากกว่า 1,500,000 ไซต์ และมีเทคนิคในการค้นหาข้อมูล โดยมีระบบการค้นหาข้อมูลอย่างรวดเร็ว
      LookSmart 
     เกิดจากความคิดของชาวออสเตเลีย 2 คนที่ไม่ประทับใจในการค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต จึงขอความช่วยเหลือจาก Reader's Digest ทั้งสองจึงลงมือสร้างเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลที่คำนึงถึงความใช้ง่ายและเหมาะสม กับเนื่อหา
     Web crawler 
     เป็นเว็บไซต์ที่มีคลังข้อมูลระดับปานกลาง มีข้อจำกัดคือ ใช้ค้นหาข้อมูลที่เป็น วลีหรือข้อความ    ทั้งข้อความไม่ได้จะมาสารถค้นหาข้อมูลได้เฉพาะที่
     Dog Pile
     เป็นประเภท เมตะเสิร์ชที่ใช้งานง่าย ค้นหาได้อย่างรวดเร็ว โดยการพิมพ์คำค้นหาลงในช่องค้นหาและกดปุ่ม Fetch โดยผลลัพธ์จะปรากฏบนหน้าจออย่างรวดเร็ว
     Ask Jeeves
     เป็นน้องใหม่ในอินเทอร์ โดยเราสามารถถามคำถามที่เราต้องการอยากรู้โดยพิมพ์คำถามลงไปในช่องกรอก ข้อมูล และคลิกปุ่ม Ask แล้วจะปรากฏผลลัพธ์จากเว็บไซต์ต่างๆ
     Profusion
     เป็นการค้นพบแบบ เมตะเสิร์ช ได้รับความนิยมถึง 9 แห่งด้วยกัน โดยเราสามรถเลือกได้ว่าใช้ Search Engines สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
      Siam guru.com
     ใต้สมญานาม "เสิร์ชฯไทยพันธ์ไทย" Real Thai Search Engines เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือ ค้นหาสำหรับคนไทยที่ดีที่สุดในประเทศไทย มีการค้นหาภาพ เพลงต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการค้นหาภาษาไทย ตลอดจนมีระบบการเก็บข้อมูลใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา
     การใช้งาน  Search Engines
   การระบุคำค้นหา หรือใช้คีย์เวิร์ด yahoo.com การใช่้ต้องป้อนข้อมูล หรือข้อความที่ต้องการ Keyword ลงไปในช่องค้นหา
     การค้นเป็นหมวดหมู่ Directories 
   การค้นหาจากหมวดหมู่ จะมีการแบ่งหัวข้อต่างๆออกเป็นหัวข้อหลัก ในแต่ละหัวข้อหลักก็ประกอบไปด้วยหัวข้อย่อยลงไปเรื่อยๆ


วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์

            คอมพิวเตอร์  หมายถึง เครื่องมืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือ มีศักยภาพสูงในการคำนวนประมวลผลข้อมูล ทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง

ส่วนประกอบสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์
            คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
            หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ
            ส่วนที่ 1 หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)
                           เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบเพื่อกหนดให้คอมพิวเตอร์ ทำงานตามความต้องการ ได้แก่
                          - แป้นอักขระ (Keyboard)
                          - แผ่นซีดี (CD-Rom)
                          - ไมโครโฟน (Microphone) เป็นต้น
            ส่วนที่ 2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit)

            ทำหน้าที่ เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
            ส่วนที่ 3 หน่วยความจำ (Memory Unit)
            ทำหน้าที่ เก็บข้อมูลหรือคำสั่ง ที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
            ส่วนที่ 4 หน่วยแสดงผล (Output  Unit)
            ทำหน้าที่ แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลหรือ ผ่านการคำนวนแล้ว
            ส่วนที่ 5 อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ (Peripheral Equipment )
            เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำงานได้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม (Modem) แผงวางวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นต้น
            ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1. มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้รวดเร็วเพียงชั่ววินาที จึงใช้ในงานคำนวนต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
2. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทำงานได้ 24 ชั่วโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
3. มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมคำสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4. เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลื่องเนื้อที่เก็บเอกสาร
5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่ง ไปยังอีกเครื่องหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน

ระบบคอมพิวเตอร์

   หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆกับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตาม ประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี ระบบทะเบียน เป็นต้น

   องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หรือส่วนเครื่อง
2. ซอฟต์แวร์ (Software) หรือส่วนชุดคำสั่ง
3. ข้อมูล (Data)
4. บุคคลากร (People ware)

   ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณณ์ต่างของคอมพิวเตอร์ ที่สามารถสัมผัสได้ มี 4 ส่วนคือ
1. ส่วนประมวลผล (Processor)
2. ส่วนความจำ (Memory)
3. อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก (Input - Output Devices)
4. อุกรณ์ช่วยเก็บข้อมูล (Storage Device)

    ส่วนที่ 1 CPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์แวร์ที่เปรียบเสมือนสมอง มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานคอมพิวเตอร์ ประมวลผลและเปรียบเทียบข้อมูล มีความรวดเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ

    ส่วนที่ 2 หน่วยความจำ Memory จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
2.1 หน่วยความจำหลัก Main Memory
2.2 หน่วยความจำสำรอง Secondary Storage

    2.1 หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
   เป็นหน่วยเก็บข้อมูล และคำสั่งต่างๆของคอมพิวเตอร์ สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งและสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผล ภายหลัง

    หน่วยความจำแรม ((Ram = Random Access Memory)
เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อเก็บรักษาข้อมูล ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง

   หน่วยคาวมจำรอม ((Rom = Read Only Memory)
เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ เป็นข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้วงจร หรือเรียกว่า "หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน" (Nonvolatille Memory)

    2.2 หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory Unit)
    หน้าที่หลัก
1. ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2. ใช้ในการเก็บโปรแกรมอย่างถาวร
3. ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปอีกคึ่งหนึ่ง

      ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
   หน่วยความจำสำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับ จะพบในรุปของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ซีดี เป็นต้น
         
         ส่วนแสดงผลข้อมูล    คือ ส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลาง อุปกรณ์แสดงผล เช่น จอภาพ (Monitor) เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นต้น


        บุคคลากรคอมพิวเตอร์ (People ware)    หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไป อย่างราบรื่นอาจจะมีคนเดียว หรือหลายคนรับผิดชอบโครงสร้างหน่วยงานคอมพิวเตอร์


        บุคคลากรหน่วยงานคอมพิวเตอร์ 

1. หัวหน้างานคอมพิวเตอร์ EDP Manger
2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนรายงาน System Analyst หรือ SA
3. โปรแกรมเมอร์ Programer
4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ Computer Operator
5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล Data Entry Operator


 - นักวิเคราะห์รายงาน (นักการศึกษารายงานเดิม ออกแบบรายงานใหม่)   

 - โปรแกรมเมอร์ (นักรายงานใหมาที่นักคิดวิเคราะห์รายงานออกแบบไว้เพื่อมาสร้างโปรแกรม)   
 - วิศวกรระบบ (ทำหน้าที่ออกแบบสร้าง ซ่อมแซ่มปรับปรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ)
 - พนักงานปฏิบัติการ (ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่หรือภาระกิจประจำวันที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์) อาจแบ่งประเภท ได้ดังนี้

1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน

2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือผู้ที่ศึกษารายงานเดิม หรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้ 4. ผู้ใช้ User คือผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่ต้อเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อและวิธีการใช้งานเขียนโปรแกรมเพื่อให้ โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
            การค้นหาจากหมวดหมู่ จะมีการแบ่งหัวข้อต่างๆออกเป็นหัวข้อหลัก ในแต่ละหัวข้อหลักก็ประกอบไปด้วยหัวข้อย่อยลงไปเรื่อยๆ 

วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

ประเภทของซอฟต์แวร์ประยุกต์
แบ่งตามลักษณะการผลิต จำแนกได้เป็น2ประเภท คือ
1.ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เองโดยเฉพาะ(Propriery Software)
2.ซอฟต์แวร์ที่หาซื้อได้ทั่วไป (Packaged Software) มีทั้งโปรแกรมเฉพาะ (Customized Package)และโปรแกรมมาตราฐาน(Standard Package)

-แบ่งตามกลุ่มใช้งาน จำแนกได้3กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้1.กลุ่มการใช้งานทางด้านธุรกิจ (Business)
2.กลุ่มการใช้งานทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย(Grophic and Multimedia)
3.กลุ่มการใช้งานบนเว็บ(Web and Communications)

ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ ถูกนำมาใช้โดยมุ่งหวังให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เช่น การจัดพิมพ์รายงานเอกสาร นำเสนองานและการบันทึกนัดหมายต่างๆ ตัวอย่างเช่น โปรแกรมประมวลคำ อาทิ Microsoft Word,Sun Star Office Writer
โปรแกรม ตารางคำนวณ อาทิ Microsoft Excel,Sun Star Office Cals
โปรแกรมนำเสนอ อาทิ Microsoft Powerpoint,Sun Star Office Impress

ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยจัดการด้านงานกราฟิกและมัลติมีเดีย
เพื่อให้งานง่ายขึ้น เช่น ใช้ตกแต่ง วาดรูป ปรับเสียง ตัดต่อ ภาพเคลื่อนไหว การสร้างและออกแบบเว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น
โปรแกรมงานออกแบบ อาทิ Microsoft Visio Professional
โปรแกรมตกแต่ง อาทิ CoreLDRAW,Adobe Photoshop
โปรแกรมตัดต่อวิดิโอและเสียง อาทิ Adobe Premiere, Pinnacle Studio DV
โปรแกรมสร้างสื่อมัลติมีเดีย อาทิ Adobe Authorware,Toolbook Instructor,Adobe Director
โปรแกรมสร้างเว็บ อาทิ Adabo Flash,Adobe Dreamweaver

กลุ่มการใช้งานบนเว็บและการติดต่อสื่อสาร
       เมื่อเกิดการเติบโตของเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานเฉพาะ เพิ่มมากขึ้น เช่น โปรแกรมการตรวจเซ็คอีเมล การท่องเที่ยวเว็บไซต์ การจัดการดูแลเว็บ และการส่งข้อความติดต่อสื่อสาร การประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย ตัวอย่างโปรแกรมกลุ่มนี้ไดแก่
โปรแกรมจัดการอีเมล อาทิ Microsoft Outlook,Mozzila Thunderbird
โปรแกรมท่องเว็บ อาทิ Microsoft Internet Explorer,Mozzila Firefox
โปรมแกรม ประชุมทางไกล (Video Conference) อาทิ Microsoft Netmeeting
โปรแกรมข้อความด่วน (Instant Messaging) อาทิ MSM Messenger/Windows Messenger,ICQ
โปรแกรมสนทนาบนอินเทอร์เน็ต อาทิ PIRCH,MIRCH
       การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่ผู้ใชจะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได่ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบและเป็นตัวอักษร เป็นประโยค ข้อความ ภายในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง

ภาษาคอมพิวเตอร์มีอย่ามากมาย

        ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์  เมื่อมนุษย์ต้องการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำงานมนุษน์จะต้อวบอกขั้นตอนวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทราบการที่บอกสิ่งที่มนุษย์เข้าใจให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และทำงานได้อย่างถูกต้อง จำเปนต้องมีสื่อกลาง
ถ้าเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวันแล้ว เรามีภาษาที่ต้องใช้ในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกันถ้ามนุษย์ต้องการจะถ่ายทอดความต้องการให้คอมพิวเตอร์รับรู้ และปฏิบัติตามจะต้องมีสื่อการสำหรับติดต่อเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับรู้    เรียกสื่อกลางนี้ว่า ภาษาคอมพิวเตอร์


      ภาษาคอมพิวเตอร์ในแต่ละยุคประกอบด้วย  ภาษาเครื่อง (Machine Languages)
        
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้าใช้แทนด้วยตัวเลข 0  และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ ใช้ตัวเลข 0 และ 1เป็นหรัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขสองฐานนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขสองฐานที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
    การใชคอมพิวเตอร์ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก  จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นที่เป็นตัวอักษร 
ภาษาแอสเซมบลี (Assembiy Languages)


   
เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 2 ถัดจากภาษาเครื่อง ภาษาแอสเซมบลี ช่วยลดความยุ่งยากลงในการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อกับคอมพิวเตอร์
แต่อย่างไรก็ตามภาษาแอสเซมบลีก็ยังมีความใกล้เคียงภาษาเครื่องอยู่มาก และจำเป็นต้องใช้ตัวแปลภาษาที่เรียกว่าแอสเซมเบลอร์(Assembler) เพื่อแปลชุดภาษาแอสเซมบลีให้เป็นภาษาเครื่อง


       ภาษาระดับสูง(High-Level Languages)      เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 3 เริ่มมีการใช้ชุดคำสั่งที่เรียกว่า Statements ที่มีลักษณะเป็นประโยคภาษาอังกฤษทำให้ผู้เขียนโปรแกรมเข้าใจชุดคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ง่ายขึ้น ผู้คนทั่วไปสามารถเขียนและเรียนรู้โปรแกรมได้ง่ายขึ้น เพราะภาษาระดับสูงใกล้เคียงภาษามนุษย์ ตัวแปลภาษาระดับสูงเพื่อให้เป็นภาษาเครื่องนั้นมี 2 ชุด ด้วยกัน คือ คอมไพเลอร์(Compailer) อินเทร์พรีเตอร์(Interpreter)


        คอมไพเลอร์       จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น


         อินเทอร์พรีเตอร์       จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งตามลำดับต่อไปนี้
ข้อแตกต่างของคอมไพเลอร์และการแปลโปรแกรม และชุดคำสั่ง
การทำงานของระบบ Natwork และ Internet
โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

         1. เครือข่ายเฉพราะที่ (Local Area Network : LAN)
             เป็นเครือข่ายที่พบเห็นกันในองค์กรส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอย่ในพื้นที่ใกล้ๆกัน เช่น อยู่ภายในอาคาร หรือหน่วยงานเดียวกัน
         2. เครือค่ายเมือง (Metropolitan Area Network : MAN)
             เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้น ภายในบริเวนพื้นที่ใกล้เคียง เช่นในเมืองเดียวกัน เป็นต้น
         3. เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network: WAN)
             เป็นเครือข่ายที่ใหญ่ขึ้นอีกระดับ โดยเป็นการรวมเครือข่าย LAN และ MAN มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายเดียว ดังนั้นเครือข่ายนี้จึงครอบคลุมพื้นที่กว้าง โดยมีการครอบคลุมทั่วประเทศ หรือทั่วโลก เช่น อินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ

          รูปแบบโครงสร้างระบบเครือข่าย (Network Topology) 
             การจัดระบบการทำงานของเครือข่าย มีรูปแบบโครงสร้างของเครือข่ายอันเป็นการจัดวางคอมพิวเตอร์ และการเดินสายสัญญานคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายในระบบการไหลเวียน
             1. เครือข่ายแบบดาว
             2. เครือข่ายแบบวงแหวน
             3. เครือข่ายแบบบัส
             4. เครือข่ายแบบต้นไม้

ลักษณะการทำงานของเครือข่ายแบบดาว
         เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสือสารที่มีลักณะคล้ายรูปดาวหลายแฉก โดยมีสถานีการ หรือฮับเป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหมดในเครือข่าย สถานีจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสือสารทั้งหมด นอกจากนี้สถานีกลางยังทำหน้ที่เป็นศูนย์กลางคอยจัดส่งข้อมูลให้กับโหนดปลายทางอีกด้วย การสื่อสารภายใน เครือข่ายแบบดาว จะเป็นแบบ 2 ทศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้
        1. แบบดาว เป็นการต่อสายเชื่อมโยงโดยการนำสถานีต่างๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง 


ลักษณการทำงานของเครือข่ายแบบวงแหวน
        2. แบบเป็นสถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชือมต่อกับเครื่องขยายสัญญานของตัวเองโดยจะมีการเชื่อมโยงของสัญญานของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป้นวงแหวน เครื่องสัญญานเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญษนตัวก่อนหน้าและส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญานตัดถัดไปเรื่อยๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส้งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญานของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น เครื่องขยายสัญญานจึงมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่า
เป็น


ลักษณะการทำงานของเครือข่ายแบบบัส (Bus Network)
        อุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสือสารหลักที่เรียกว่าบัส
        3. แบบบัส (Bus Network) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยจะมีอุปกรณ์ที่เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิล ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในเวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้แบ่งเวลาหรือในแต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญานที่แตกต่างกัน ในการติดตั้งเครือข่ายแบบบัสนี้ คอมพิวเตอร์แต่ละอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียว ซึ่งจะใช้ในเครือข่าย
ขนาดเล็ก ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก
ลักษณะการทำงานของเครือข่ายแบบต้นไม้ (Tree Network)
         4. แบบต้นไม้ (Tree Network) เป็นเครือข่ายที่ผสมผสานโครงสร้างเครือข่ายแบบต่างๆเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ การจัดส่งข้อมูลสามารถส่งไปถึงได้ทุกสถานี การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่นๆได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม รับส่งข้อมูลเดียวกัน


           
      
      การประยุกษ์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
-ระบบเครือข่ายทำให้เกิดการสือสาร และการแบ่งปันการใช้ทรพยากรระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะหมายความรวมถึงการสื่อสารและการแบ่งปันการใช้ข้อมูลระหว่างบุคคลด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นงานของระบบเครือข่าย
         รูปแบบการใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ลักษณะการทำงานของเครือข่ายแบบ 
 1. ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง
2. ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer
3. ระบบเครือข่ายแบบ Client / Server

1. ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง
         เป็นระบบที่มีเครื่องหลักเพียงเครื่องเดียวที่ใช้ในการประมวลผล ตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางและมีการเชื่อมต่อไปยังเครื่องเทอร์มินอลที่อยู่รอบรอบๆ ใช้การเดินสายเคเบิลเชื่อมต่อกันโดยตรง เพื่อให้เครื่องเทอร์มินอลสามารถเข้าใช้งาน โดยส่งคำสั่งต่างๆ มาประมวลผลที่เครื่องกลางซึ่งมักเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม
2. ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer
        แต่ละสถานีงานบนของระบบเครือข่าย Peer-to-Peer จะมีความเท่าเทียมกันสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันและกันได้ เช่น การใช้เครื่องพิมพ์หรือแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย เครื่องแต่ละสถานีงานมีขีดความสามารถในการทำงานได้ด้วยตัวเอง (Stand Alone) คือจะต้องมีทรัพยากรภายในตัวของตนเอง เช่น ดิสก์สำหรับเก็บข้อมูล หน่วยความจำที่เพียงพอ และมีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลได้
3. ระบบเครือข่ายแบบ Client / Server
         สามารถสนับสนุนให้เครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายสถานี ทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่บริการเป็นศูนย์กลางอย่างน้อยหนึ่งเครื่อง และมีการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ จากส่วนกลาง ซึ่งคล้ายกับระบบเครือข่ายแบบรวมศูย์กลาง แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ เครื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการในระบบ Client / Server ราคาไม่แพงมาก ซึ่งอาจใช้เพียงเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงในการควบคุมการให้บริการทรัพยากรต่างๆ
          นอกจากนี้เครื่องลูกข่ายยังจะต้องมีความสามารถในการประมวลผล และมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลท้องถิ่นเป็นของตนเอง
          เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง สนับสนุนการทำงานแบบ Multiprocessor สามารถเพิ่มขยายขนาดของจำนวนผู้ใช้ได้ตามต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่งจำนวนเครื่อง Servers สำหรับให้บริการต่างๆเพื่อช่วยกระจายภาระของระบบได้ ส่วนข้อเสียของระบบนี้ก็คือ มีความยุ่งยากในการติดตั้งมากกว่าระบบ Peer-to-Peer รวมทั้งต้องการบุคลากรเพิ่อการบริหารจัดการระบบโดยเฉพราะอีกด้วย


ระบบสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์